- การสื่อสาร คือ กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย 1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนองเมื่อกล่าวถึงคำว่า การศึกษา เราหมายความถึงทั้ง การเรียน การสอน ทักษะเฉพาะ และสิ่งที่แม้จะจับต้องไม่ได้แต่เป็นสิ่งที่ลึกซึ้ง กล่าวคือ การถ่ายทอดความรู้ ทักษะการตัดสินที่ดี และภูมิปัญญา เป้าหมายพื้นฐานอีกประการหนึ่งของการศึกษา คือ การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากรุ่นไปสู่รุ่น (ดู การขัดเกลาทางสังคม (socialization)) อีกความหมายหนึ่งของ การศึกษา คือ การพัฒนาคน ซึ่ง การพัฒนา หมายถึง การแก้ไขข้อบกพร่องให้ดีขึ้น / การเสริมข้อดีให้คงสภาพหรือดียิ่งขึ้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าการศึกษานั้นเป็นขบวนการที่ใช้เวลาทั้งชีวิต มีการวิจัยในเด็กที่อยู่ในท้องแม่ พบว่าเด็กนั้นมีการเรียนรู้ในครรภ์แม่แต่ก่อนแรกเกิดดังนั้น การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างชัดเจน เพราะว่า การเรียนการสอน เป็นการสื่อสารอีกรูปแบบหนึ่ง มีทั้งผู้ส่งสารอันได้แก่ครูผู้สอน มีสาร คือความรู้หรือประสบการณ์ที่จัดขึ้น ผู้รับสารคือผู้เรียน มีกระบวนการเรียนการสอนประกอบด้วยเครื่องมือ สื่อการเรียนการสอนต่างๆภายใต้สถานการณ์ที่จัดขึ้นในห้องเรียน หรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นในสถานที่อื่น และมีจุดหมายของหลักสูตรเป็นเครื่องนำทางจุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอน คือ การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ มีทักษะในการสื่อสาร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครูคือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ อย่างเหมาะสม นอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียวทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์ มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคลคือ1. จับยึดประสบการณ์ เหตุการณ์ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นสามารถใช้สื่อต่างๆ บันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพบันทึกเสียง การพิมพ์ ฯลฯ2. ดัดแปลงปรุงแต่ง เพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้นเช่น การย่อส่วน ขยายส่วน ทำให้ช้าลง ทำให้เร็วขึ้น จากไกลทำให้ดูใกล้ จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น3. ขยายจ่ายแจก ทำสำเนา หรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ภาพถ่าย จึงช่วยให้ความรู้ต่างๆเข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกันนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งนะครับ แต่คงจะมีมากกว่านี้อีก ยังไงก็ขอให้ท่านที่สนใจ ไปศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับ จากอินเตอร์เน็ต ห้องสมุด หรือหนังสือต่างๆ ได้....วัสสลาม
ความในสมัยปัจจุบันการที่จะเป็นครูผู้สอนที่ดี มีความสามารถและมีประสิทธิภาพในการสอนสูงดูจะเป็นสิ่งที่ยากกว่าแต่ก่อน ๆ นี้มากครูสมัยใหม่นี้จะต้องมีความรอบรู้และสนใจในสิ่งต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น เช่นเกี่ยวกับผู้เรียน พฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียนหรือในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวเนื้อหาสาระของวิทยาการต่าง ๆที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมทั้งสภาวะแวดล้อมอันยุ่งยากสับสน ความเปลี่ยนแปลงตลอดจนธรรมชาติ และความสามารถของแต่ละบุคคลในการศึกษาเล่าเรียน ครูจะต้องนำเอาความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ เหล่านี้มารวบรวม ประยุกต์และดัดแปลงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการบริหารการสอนต่อไปได้ด้วยในสมัยโบราณที่ผ่านมา การสอนเป็นไปตามวิธีการของการปลูกฝังความเชื่อมากกว่าวิธีการทางวิทยาศาสตร์และครูผู้ประสบความสำเร็จในสมัยนั้นก็คือ ครูเป็นผู้สอนเนื้อหาและจัดการงานต่าง ๆ ด้วยตนเองโดยตรงเพื่อผู้เรียน คือเน้นครูเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอนนั่นเองปัจจุบันสภาพการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ครูผู้ประสบความสำเร็จจะเป็นผู้ทำหน้าที่บริหารงานสอนและดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูล (Information)ที่จะถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็น
ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์ เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคม การสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชน และสังคมในทุกด้าน
ความหมายของการสื่อสาร
คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communis หมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผลความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารมีความสำคัญดังนี้
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆ โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคม จึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคม การพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ
1. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด ได้แก่ ภาษาและอากัปกิริยาต่าง ๆ เพื่อสื่อสารความคิด ความรู้สึก ข่าวสาร ความต้องการและวัตถุประสงค์ของตนไปยังผู้รับสารด้วยวิธีการใด ๆ หรือส่งผ่านช่องทางใดก็ตาม จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ผู้พูด ผู้เขียน กวี ศิลปิน นักจัดรายการวิทยุ โฆษกรัฐบาล องค์การ สถาบัน สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ หน่วยงานของรัฐ บริษัท สถาบันสื่อมวลชน เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ส่งสาร
1. เป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร แสดงความคิดเห็น หรือวิจารณ์ ฯลฯ
2. เป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไปเป็นอย่างดี
3. เป็นผู้ที่มีบุคลิกลักษณะที่ดี มีความน่าเชื่อถือ แคล่วคล่องเปิดเผยจริงใจ และมีความรับผิดชอบ ในฐานะเป็นผู้ส่งสาร
4. เป็นผู้ที่สามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถในการรับสารของผู้รับสาร
5. เป็นผู้รู้จักเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสมในการส่งสารหรือนำเสนอสาร
2. สาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้ เช่น ข้อความที่พูด ข้อความที่เขียน บทเพลงที่ร้อง รูปที่วาด เรื่องราวที่อ่าน ท่าทางที่สื่อความหมาย เป็นต้น
2.1 รหัสสาร (message code)ได้แก่ ภาษา สัญลักษณ์ หรือสัญญาณที่มนุษย์ใช้เพื่อแสดงออกแทนความรู้ ความคิด อารมณ์ หรือความรู้สึกต่าง ๆ
2.2 เนื้อหาของสาร (message content) หมายถึง บรรดาความรู้ ความคิดและประสบการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดเพื่อการรับรู้ร่วมกัน แลกเปลี่ยนเพื่อความเข้าใจร่วมกันหรือโต้ตอบกัน
2.3 การจัดสาร (message treatment) หมายถึง การรวบรวมเนื้อหาของสาร แล้วนำมาเรียบเรียงให้เป็นไปอย่างมีระบบ เพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหา ที่ต้องการด้วยการเลือก ใช้รหัสสารที่เหมาะสม
3. สื่อ หรือช่องทาง (media or channel) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
การแบ่งประเภทของสื่อมีหลากหลายต่างกันออกไป
4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เช่น ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ฟังรายการวิทยุ กลุ่มผู้ฟังการอภิปราย ผู้อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ เป็นต้นวัตถุประสงค์ของการสื่อสารคณาจารย์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2551: 17) กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการสื่อสารไว้ดังนี้
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ (inform) ในการทำการสื่อสาร ผู้ทำการสื่อสารควรมีความ ต้องการที่จะบอกกล่าวหรือชี้แจงข่าวสาร เรื่องราว เหตุการณ์ หรือสิ่งอื่นใดให้ผู้รับสารได้รับทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา (teach or education) ผู้ทำการสื่อสารอาจมีวัตถุประสงค์เพื่อจะ ถ่ายทอดวิชาความรู้ หรือเรื่องราวเชิงวิชาการ เพื่อให้ผู้รับสารได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง (please of entertain) ผู้ทำการสื่อสารอาจ ใช้วัตถุประสงค์ในการสื่อสารเพื่อสร้างความพอใจ หรือให้ความบันเทิงแก่ผู้รับสาร โดยอาศัยสารที่ตนเองส่งออกไป ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของการพูด การเขียน หรือการแสดงกิริยาต่าง ๆ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ (Propose or persuade) ผู้ทำการสื่อสารอาจใช้วัตถุประสงค์ใน การสื่อสารเพื่อให้ข้อเสนอแนะ หรือชักจูงใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งต่อผู้รับสาร และอาจชักจูงใจให้ผู้รับสารมีความคิดคล้อยตาม หรือยอมปฏิบัติตามการเสนอแนะของตน
5. เพื่อเรียนรู้ (learn) วัตถุประสงค์นี้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับผู้รับสาร การแสวงหาความรู้ ของผู้รับสาร โดยอาศัยลักษณะของสาร ในกรณีนี้มักจะเป็นสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิชาความรู้ เป็นการหาความรู้เพิ่มเติมและเป็นการทำความเข้าใจกับเนื้อหาของสารที่ผู้ทำการสื่อสารถ่ายทอดมาถึงตน
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ (dispose or decide) ในการดำเนินชีวิตของคนเรามี สิ่งหนึ่งที่ต้องกระทำ อยู่เสมอก็คือ การตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งการตัดสินใจ นั้นอาจได้รับการเสนอแนะ หรือชักจูงใจให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ ทางเลือกในการ ตัดสินใจของเราจึงขึ้นอยู่กับข้อเสนอแนะนั้น
สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอนในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจำเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้นๆ ด้วย สื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดำหรือไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจำกัดในตัวเอง
สื่อมัลติมีเดียก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นำเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดี ย่อมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสำคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทำงานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ นับว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งาน อย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลำดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสำหรับคนทุกคนทุกอาชีพ
การติดต่อกับผู้ใช้ด้วยกราฟิก (Graphical User Interface หรือ GUI) ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ง่ายและเป็นกันเองมากขึ้น ความง่ายต่อการใช้และประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์นี้เอง ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเริ่มเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของระบบการเรียนการสอนในโรงเรียน เริ่มจากโรงเรียนที่มีความพร้อม แล้วขยายวงออกไป จนปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่โรงเรียนทุกแห่งควรจะต้องมี คำถามที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มค่าของการลงทุนยังคงมีอยู่ตลอดเวลา คำตอบที่ชัดเจนคงมีเพียงคำตอบเดียวคือ หากเราใช้เทคโนโลยีอย่างนี้อย่างคุ้มค่าก็เป็นสิ่งที่น่าลงทุน
เมื่อกล่าวถึงความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์ คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้นจะนำมาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์ ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดีย และแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วย
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะจึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
- ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
- ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
- ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
- รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
- โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
- การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
- เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
- ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
- มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
- เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
- ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
- อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
- เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
- โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่นักการศึกษาให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง พัฒนาการของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนในประเทศตะวันตก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา มีความรุดหน้าอย่างเด่นชัด ยิ่งเมื่อมองภาพการใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายด้วยแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนจะยิ่งโดดเด่นไปอีกนานอย่างไร้ขอบเขต รูปแบบต่างๆ ของสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการพัฒนาขึ้นตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จนกระทั่งเมื่อกล่าวถึงสื่อมัลติมีเดีย ทุกคนจะมองภาพตรงกัน คือ การผสมผสานสื่อหลากหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนได้รับการบันทึกไว้บนแผ่นซีดีรอมและเรียกบทเรียนลักษณะนี้ว่า CAI เมื่อกล่าวถึง CAI จึงหมายถึงสื่อมัลติมีเดียที่นำเสนอบทเรียนโดยมีภาพ และเสียงเป็นองค์ประกอบหลัก โดยภาพและเสียงเหล่านี้อาจอยู่ในรูปแบบของข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว หรือวีดิทัศน์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบบทเรียน ส่วนเสียงนั้นจะมีทั้งเสียงจริง เสียงบรรยาย และอื่นๆ ที่เหมาะสม โดยทั้งหมดนี้จะถ่ายทอดผ่านระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งต่อเป็นระบบเครือข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
เมื่อเทคโนโลยีเครือข่ายมีความก้าวหน้ามากขึ้น การเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นกัน เครือข่ายใยแมงมุมโลกหรือที่เรียกทั่วไปว่า เว็บ (Web) ได้รับการพัฒนาและการตอบสนองจากผู้ใช้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เว็บกลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ธุรกิจทั่วโลกให้ความสนใจ ซึ่งรวมทั้งธุรกิจด้านการศึกษาด้วย โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น เว็บได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกหนทุกแห่งในโลกมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในเว็บได้ใกล้เคียงกัน
การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ได้รับความสนใจจากนักการศึกษาเป็นอย่างมาก ในช่วง ค.ศ.1995 ถึงปัจจุบัน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการเรียนการสอนทั้งระบบการสอน และการออกแบบบทเรียนได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันการพัฒนาโปรแกรมสร้างบทเรียนหรืองานด้านมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการสร้างบทเรียนบนเว็บมีความก้าวหน้ามากขึ้น โปรแกรมสนับสนุนการสร้างงานเหล่านี้ล้วนมีคุณภาพสูง ใช้งานง่าย เช่น โปรแกรม Microsoft FrontPage โปรแกรม Dream Weaver โปรแกรม Macromedia Director โปรแกรม Macromedia Flash และโปรแกรม Firework นอกจากโปรแกรมดังกล่าวแล้ว โปรแกรมช่วยสร้างสื่อมัลติมีเดียอื่นๆ ที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน เช่น Macromedia Authorware และ ToolBook ก็ได้รับการพัฒนาให้สามารถใช้งานบนเว็บได้ การเปลี่ยนแปลงรวมทั้งบทบาทของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลต่อการจัดรูปแบบการเรียนการสอนนี้เอง ที่ทำให้การเรียนการสอนทางไกลการฝึกอบรมทางไกล รวมทั้งการเรียนการสอนในลักษณะของการอภิปรายโต้ตอบทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ซึ่งทำได้ยากและต้องเสียค่าใช้จ่ายมากจะเป็นเรื่องที่ไม่แปลกใหม่ในอนาคต
ทฤษฎีการสื่อสารทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่าง ๆ แล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับ สื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอด และวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในกระบวนการสื่อสาร คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อสารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อและช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980s เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน รวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดีความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสารทฤษฎีการสื่อสารโดยรวมจัดว่าเป็นแก่นหรือองค์ความรู้ในทางนิเทศศาสตร์ที่ใช้เป็นหลักในการศึกษาวิจัย และการปฏิบัติงานทางด้านนิเทศศาสตร์โดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม... โดยทางตรง อาทิ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา การประชาสัมพันธ์... โดยทางอ้อม อาทิ การสื่อสารภายในบุคคล (จิตวิทยา) การสื่อสารระหว่างบุคคล (จิตวิทยาและสังคมวิทยา) การสื่อสารภายในองค์กร (การบริหารองค์กร) การสื่อสารของประเทศ (รัฐศาสตร์)เราอาจแยกแยะให้เห็นความสำคัญของทฤษฎีการสื่อสารแนวต่าง ๆ ได้ดังนี้- ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
- ทฤษฎีแนววิพากษ์ (Critical theory)
- ทฤษฎีแนวปรัชญาวิทยาศาสตร์ (Scientific-philosophical theory)
วิวัฒนาการของทฤษฎีการสื่อสาร
ยุคก่อนทฤษฎีการสื่อสารยุคก่อนทฤษฎี (pre-theoritical period) อาจย้อนหลังไปหลายล้านปี เมื่อสัตว์ประเภทหนึ่งได้มีวิวัฒนาการมาสู่ความเป็นมนุษย์นับกลับมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20วิวัฒนาการสามพันห้าร้อยล้านปีของสมองชีวิต (brain of life) ได้สร้างเสริมให้สมองของมนุษย์มีสมรรถนะหลายพันล้านเท่าของสมองแบคทีเรีย และนี่เองที่ทำให้มนุษย์วานรได้วิวัฒนาการมาเป็นมนุษย์ผู้ชำนาญในการใช้มือ (homo habills) มนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) มนุษย์ผู้ฉลาด (homo sapiens) และมนุษย์ผู้ฉลาดแสนฉลาด (homo sapiens sapiens) อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันตลอดช่วงระยะเวลาของวิวัฒนาการสมองได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการสื่อสาร 2 ระบบ คือ (1) การสื่อสารภายในร่างกาย และ (2) การสื่อสารระหว่างร่างกายกับภายนอก ระหว่างสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ (species) เดียวกัน และกับสิ่งภายนอกที่รับรู้ได้โดยอาศัยช่องทางหรือประสาทการสื่อสาร1. การสื่อสารภายในร่างกายเป็นไปทั้งโดยมีจิตสำนึก (conscious) จิตใต้สำนึก (subconscious) และจิตไร้สำนึก (unconscious)จิตสำนึกและจิตใต้สำนึกอยู่เฉพาะภายในสมอง จิตสำนึกอยู่ในรูปแบบของการสำนึกรู้และการคิด จิตใต้สำนึกส่วนใหญ่ “ซ่อนเร้น” อยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของสมองที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์เก็บความจำ คือ ฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ส่วนจิตไร้สำนึก หมายถึง การสื่อสารระหว่างสมองกับทุกเซลล์และทุกอวัยวะภายในร่างกาย2. การสื่อสารระหว่างสิ่งมีชีวิตกับภายนอกร่างกายของตนเอง หรือกับสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่กระทำโดยจิตสำนึกที่เกิดจากการส่งสาร และรับสารผ่านประสาทการรับรู้ แต่ก็มีการสื่อสารกับภายนอกอีกส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในระดับจิตใต้สำนึก เพราะในบรรดารูป รส กลิ่น เสียง หรือสัมผัส ที่ผ่านตาม ลิ้น จมูก หู หรือผิวหนังเข้าสู่สมองของเรานั้น จะมีเพียงส่วนเดียวที่เรารับรู้ในระบบจิตสำนึกของเรา นอกจากนั้นอาจจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึก เช่น เสียงของทำนองเพลง (melody) ที่ขับร้องโดยนักร้องเพียงคนเดียว มักจะผ่านเข้าทางระบบจิตสำนึกแต่เสียงประสาน (harmony)ของเครื่องดนตรีนับร้อยชิ้นมักจะผ่านเข้าทางระบบจิตใต้สำนึกกระบวนการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกเกิดขึ้นมาพร้อมกับสิ่งมีชีวิต แต่เมื่อสิ่งมีชีวิตได้วิวัฒนามาเป็นมนุษย์ กระบวนการสื่อสารก็ยิ่งมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น มีพลัง สมรรถภาพและสมรรถนะเพิ่มมากขึ้น เฉพาะภายในร่างกายก็ได้มีพัฒนาการของเนื้อเยื่อใหม่ (neocortex) ของสมองส่วนบน ที่ทำให้มีการเรียนรู้ การคิด เกิดปัญญา (intellignce) และภูมิปัญญา (wisdom) ที่เหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ แม้ในหมู่สปีชีส์ที่คล้ายคลึงกับมนุษย์ อาทิ ลิงชิมแปนซี หรือลิงโบโนโบส่วนด้านภายนอกร่างกาย มนุษย์ก็ได้อาศัยสมองปัญญาและมือซึ่งเป็นมรดกของมนุษย์ผู้ลุกขึ้นยืนตัวตรง (homo erectus) สร้างเครื่องมือหรือส่วนขยายของมือ (extension of hands) นับตั้งแต่ก้อนหินไปจนถึงสถานีอวกาศอย่างไรก็ตาม กระบวนการสื่อสารของมนุษย์ตั้งแต่จุดแรกเริ่มกำเนิดมนุษย์จนถึงเอประมาณห้าแสนปี ก็ยังเป็นไปตามธรรมชาติ เช่นเดียวกับสัตว์ทั้งหลาย นั่นคือ เป็นสิ่งที่เกิดมาพร้อมกับชีวิต และต้องดำเนินไปเพื่อตอบสนองความต้องการของชีวิต เป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อชีวิต (communication for life) และเป็นสิ่งที่ต้องทำโดยอัตโนมัติ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือละเลยได้ (compulsory communication)การสื่อสารโดยธรรมชาติตอบสนองความต้องการทางเพศและความต้องการทางสังคม เพื่อทำให้อัตตา (self) ชาติพันธุ์ (race) และสปีชีส์ (species) ของตนอยู่รอดปลอดภัย นั่นคือ บทบาทหน้าที่ (function) ที่เป็นเหตุผลหลักของการที่มนุษย์จะต้องมีการสื่อสาร ส่วนบทบาทหน้าที่อื่นก็เพิ่มเสริมเข้ามาเป็นส่วนประกอบ เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่ขยายออกมาถึงระดับชื่อเสียง ความภาคภูมิใจและอำนาจเหนือผู้อื่นกระนั้นก็ตาม บทบาทหน้าที่ในการอยู่รอดปลอดภัยของชีวิตและสังคมก็ยังมีความสำคัญเป็นอันดับแรกเรื่อยมา ยิ่งมีอันตรายหรืออุปสรรคต่อการอยู่รอดปลอดภัยมาก มนุษย์ก็ยิ่งมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิผลมากขึ้น และนี่เองที่ทำให้สมองของมนุษย์มีพัฒนาการขึ้นในส่วนหน้าด้านซ้ายของเนื้อเยื่อใหม่ จนสามารถทำให้มนุษย์พูดเป็นคำได้เมื่อประมาณ 5 แสนปีก่อนการสื่อสารเป็นคำ (verval communication) หรือการพูดทำให้สื่อสารกันได้เร็วจนสามารถ ที่จะลดหรือป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายหรือมนุษย์กลุ่มอื่น เพราะมันเป็นความจำเป็นที่จะต้องต่อสู้เพื่อความอยู่รอดปลอดภัย และนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของภาษา. จากภาษาพูดมาสู่ภาษาภาพ และภาษาเขียนหลักฐานภาษาภาพที่ได้พบที่ถ้ำลาสโกส์และถ้ำโซเวต์ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิราในสเปน รวมทั้งหลายแห่งในออสเตรเลีย ส่วนใหญ่มีความหมายเกี่ยวกับอำนาจลึกลับเหนือธรรมชาติ ทำให้เราต้องสันนิษฐานว่า ภาษาพูดอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการลดหรือขจัดอันตรายต่อความอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์เสียแล้ว ไม่ว่าเขาจะอยู่ในท้องถิ่นทวีปใดภัยอันตรายจากสัตว์หรือมนุษย์กลุ่มอื่นอาจลดได้ ป้องกันได้โดยการรวมตัวกันอย่างรวดเร็ว ด้วยการใช้ภาษาพูด แต่ยังมีภัยอันตรายอีกมากมายหลายอย่างที่มนุษย์ต้องตกอยู่ในสภาพจนตรอกจนใจ จนทำอะไรไม่ได้ แม้จะมีการรวมตัวรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเข้มแข็งเพียงใดก็ตามภัยอันตรายจากพายุ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภูเขาไฟ ฟ้าผ่า เชื้อโรค และความกลัวอันตรายที่เกิดจากอวิชชา เมื่อได้เห็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวหาง ดาวตกภัยอันตรายและความกลัวอันตรายนี่เองที่อาจทำให้มนุษย์ต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อระบายความรู้สึกกลัว หรือพยายามติดต่อสื่อสารขอความเห็นใจจากอำนาจ “ลึกลับ” ที่อาจอยู่เบื้องหลังอาจจะต้องร้อง เต้น เขียนภาพ ฆ่าสัตว์ หรือฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองเพื่อบูชายันต์การพยายามสื่อสารกับ “อำนาจลึกลับ” ก่อให้เกิดศาสนาโบราณและไสยศาสตร์ของชนเผ่าต่าง ๆ ในทุกทวีป แต่เมื่อประมาณสามพันปีศาสดาผู้เปรื่องปราชญ์และทรงปัญญา ได้เสนอหลักศีลธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสันติของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ทำให้เกิดศาสนาต่าง ๆ ต่อเนื่องกันมาในประวัติศาสตร์ ได้แก่ ฮินดู ขงจื้อ พุทธ คริสต์ อิสลาม สิกข์ (sikn)และบาไฮการสื่อสารกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของศาสนาและไสยศาสตร์ ทั้งในด้านการสถาปนาและในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอนการสถาปนาลัทธิความเชื่อ ได้แก่ การสร้างเรื่อง (story-making) การเล่าเรื่อง (story-telling) เกี่ยวกับอำนาจลึกลับ เทพเจ้า พระเจ้าหรือภูตผีปีศาจแม้ศาสนาพุทธนิกายมหายาน ก็ยังมุ่งใช้จิตวิทยาการสร้างเรื่อง สร้างสมมติเทพ และนิทานชาดก เกี่ยวกับการประสูติในชาติและรูปลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธองค์ ทั้งนี้เพื่อชักจูงโน้มน้าวประชาชนให้ตื่นเต้น สนใจ และเลื่อมใสศรัทธา อาทิ ลัทธิดินแดนบริสุทธิ์ของจีนเชื่อว่าถ้ามีศรัทธาในอำนาจของอมิตาภา ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าของเขตปัจฉิม จะได้ไปเกิดใหม่ในแดนสุขาวดี ซึ่งปราศจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง มีพระโพธิสัตว์หลายองค์ที่กลับมาเกิดในหลายชาติ เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ก่อนที่จะบรรลุการตรัสรู้สูงสุดและกลายเป็นพระพุทธเจ้าอีกพระองค์หนึ่งอวโลกิตศวร ก็ถือกันว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งความเมตตา สงสาร ซึ่งคนจีนเชื่อว่าปรากฏออกมาในร่างเจ้าแม่กวนอิม ผู้ทรงเมตตาและให้ทานแก่เด็กคอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก และนักเดินทางในแดนกันดาร ส่วนในจักรวรรดิเขมร พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็ได้สลักเป็นจตุรพักตร์ขึ้นไว้ทั้ง 54 ปรางค์ ในบริเวณปราสาทบายน (ไพชยนต์)ในด้านการเผยแพร่ลัทธิความเชื่อหรือคำสอนได้มีการใช้ปัจจัยกลยุทธ์ ทั้งในการสร้างสื่อและในการสร้างสาร ศาสนาพุทธสื่อสารเผยแพร่ด้วยภาษาบาลี ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวบ้านอินเดียในยุคนั้นเข้าใจง่ายจนสามารถเข้าถึงหลักการสื่อสารภายในบุคคล ระหว่างบุคคลและการสื่อสารสังคมเป็นอย่างดี ทุกศาสนามีการใช้คำอุปมาอุปไมย (metaphor) ที่ทำให้เข้าใจคำสอนได้อย่างลึกซึ้งศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่ลัทธิลูเธอร์อย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1536 โดยนักปฏิรูปศาสนา ฌอง กัลแวง (Jean Calvin) เริ่มต้นด้วยหนังสือ เรื่อง สถาบันศาสนาคริสต์ (“L’ Institution de la Religion Chrétianne”)ศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ตั้งวิทยาลัยเผยแพร่ศรัทธา (propaganda fide) ในปี ค.ศ. 1622 เพื่อผลิตมิชชันนารีเป็นสื่อบุคคลออกไปสอนศาสนาในต่างประเทศ นับว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่สอนวิชานิเทศศาสตร์ แต่ก็ยังไม่มีองค์ความรู้ที่พอจะนับเป็นหลักทฤษฎีได้ในยุคก่อนทฤษฎีนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทางด้านวิทยาศาสตร์ก็ได้มีการศึกษาเรื่องการสื่อสาร โดยมีหลักฐานแน่ชัดว่า ชาร์ล ดาร์วิน (Charle Darwin) เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้เขียนหนังสือรายงานการศึกษาเล่มใหญ่ เรื่อง“The Expression of Emotions in Man And Animals” (การแสดงอารมณ์ของมนุษย์และสัตว์) ในปี ค.3ศ. 1872โดยสรุป ในช่วงก่อนทฤษฎีนี้ ยังมิได้มีการศึกษาการสื่อสารอย่างจริงจัง ทั้งในระดับวิชาชีพและวิชาการ ที่เห็นได้ชัดคือยังไม่มีการเปิดสอนหลักสูตรการสื่อสารหรือนิเทศศาสตร์เป็นสาขา (discipline) ในมหาวิทยาลัย แม้ว่าได้มีความพยายามที่จะเรียนรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานสื่อสารบ้างแล้วก็ตาม - ทฤษฎีแนวปฏิบัติ (Operational theory)
Loading
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น